Activity
การดูแล ธรรมมะ
ผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่กำลังประสพปัญหาหลายด้าน ตั้งแต่ด้านสุขภาพ การต้องพลัดพรากเมื่อสามีหรือ ภรรยาที่ตายจากกัน และต้องต่อสู้กับความเหงาและสภาพ การอยู่คนเดียว ผู้สูงอายุบางรายเกิดความท้อแท้สิ้นหวังที่ ทาให้ตนเองต้องเป็นภาระกับลูกๆ ที่มีรายได้หาเลี้ยงตนเอง ก็ยังไม่พอเพียง ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากประเด็นปัญหา ทำให้มีผู้หาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว วิธีการแก้ไขปัญหาประการหนึ่งคือการนำหลักพุทธธรรมอัน ได้แก่หลักคำสอนหรือแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาเป็น หลักในการดาเนินชีวิต เพราะหลักการดาเนินชีวิตในทาง พระพุทธศาสนา มีหลักคำสอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ของบุคคล ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หลักพุทธธรรม จะส่งเสริมให้บุคคลรู้จักช่วยตนเอง ยอมรับในศักยภาพของมนุษย์ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้รู้จักใน เงื่อนไข เหตุปัจจัยและวิธีการซึ่งมีขั้นตอนครบถ้วน ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การดูแล นวดแผนไทย-อบสมุนไพร
การนวดในคนอายุเกิน 60 ปี จะได้ประโยชน์มากกว่าคนกลุ่มอายุอื่น เนื่องจากใช้ชีวิตมานาน ได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เช่น ความบกพร่องในการบำรุงรักษาร่างกาย การโภชนาการที่ไม่ค่อยดี มลภาวะในสิ่งแวดล้อม อุบัติเหตุ ความเจ็บปวด ปัญหาด้านอารมณ์ ความผันผวนด้านการเงิน กิจกรรมหรืออาชีพที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสรีระ และทัศนคติที่สั่งสมมาจนส่งผลกระทบต่อร่างกายและความคิดจิตใจปัญหาที่เกิดกับผู้สูงอายุหลายอย่าง เช่น รูมาติซึม ข้ออักเสบ ปัญหาของข้อต่อและสะโพก การหมุนเวียนของโลหิตที่บกพร่อง การปวดบั้นเอว ปวดหรือขัดที่คอและไหล่ ไม่สบายเท้า มีปัญหาในการเดิน หลังโก่งหรือแอ่นเพราะกระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ ฯลฯ จะช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ด้วยการนวด
การดูแล-กายภาพ
การช่วยกายภาพแก่ผู้ที่นอนติดเตียง เคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้ โดยทั่วไปการช่วยฟื้นฟูกายภาพ จะช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ข้อ กล้ามเนื้อ หัวใจ หรือการผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามผู้ป่วย ผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงนั้นเกิดจากภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น สมองไม่สั่งการ /อัมพฤกต์ /อัมพาตดังนั้น จึงต้องทำกายภาพ เพื่อช่วยเคลื่อนไหวข้อ ไม่ให้ติด ในขณะที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
การดูแล-กิจกรรมนันทนาการ
ดนตรีมีพลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ประสบปัญหาสมองเสื่อม หรือ ที่เกี่ยวข้อง และมันสามารถจุดประกายผลลัพธ์ที่น่าสนใจแม้จะอยู่ในช่วงสมองเสื่อมระยะสุดท้าย เมื่อดนตรีถูกใช้อย่างเหมาะสม, ดนตรีสามารถเปลี่ยนอารมณ์, ช่วยในการจัดการความเครียด, กระตุ้นการปฏิสัมพันธ์เชิงบวก, ช่วยในเรื่องระบบประสาท และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกายสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ การตอบสนองต่อจังหวะไม่ว่าจะเป็นการเล่นหรือการร้อง ไม่ต้องใช้ความรู้ในการตอบสนอง แต่เป็นการตอบสนองโดยตรงจากสมอง
กิจกรรมอื่นๆ
โภชนาการเหมาะสม
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่ายกาย จิตใจ และสังคม โดยเฉพาะทางร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมลง เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ เช่น ผิวหนัง ผม ตา หู จมูก ลิ้น ฟัน เป็นต้น
ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในเรื่องต่างๆ ของผู้สูงอายุและพยายามปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามวัย ซึ่งสิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ นั่นคือ สารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายนั่นเอง ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานและสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ โดยที่ความต้องการพลังงานของร่างกายจะลดลง เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ น้อยลงกว่าเดิม ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงอยู่แล้ว ควรได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ บางคนสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่บางคนรู้สึกเบื่ออาหารรับประทานได้ปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ บางคนไม่สามารถรับประทานทางปากได้ บางคนมีปัญหาทางปาก และคอ และหลอดอาหาร หรือบางรายที่ได้รับอุบัติเหตุและไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถรับประทานอาหารเป็นเวลานาน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับอาหารทางสายให้อาหาร และใช้สูตรอาหารใด, ปริมาณเท่าใด เพื่อวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ ให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีพลังงานและปริมาณสารอาหารเพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทุโภชนาการ และเมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารเหมาะสมอย่างเพียงพอจะช่วยให้ฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น
รำลึก
การฉายภาพบ้านเมืองในอดีตของประเทศไทย สังคมไทย และ การจัดสภาพแวดล้อม สิ่งของ เครื่องมืออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันที่เคยมีใช้ในอดีต ให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยด้านสมอง เช่น อัลไซเมอร์ ผู้ป่วยสมองเสื่อม หรือผู้สูงอายุทั่วไป จะช่วยกระตุ้นความทรงจำ และการทำงานของสมองให้กลับมีอาการดีขึ้นอย่างช้าๆ และทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขทางใจ อารมณ์สุขภาพจิตดีขึ้น
นันทนาการ ผ่อนคลาย
สูงอายุ แม้จะมีสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงเป็นอุปสรรคในการประกอบกิจกรรมต่างๆ แต่ก็ใช่ว่า ผู้สูงอายุจะไม่สามารถทำกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ได้การนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการผ่อนคลายความเครียด และให้ความบันเทิงไปพร้อมๆ กัน ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น การจัดกิจกรรมต้องเน้นความเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน และความปลอดภัย กิจกรรมนันทนาการได้แก่
1. กิจกรรมทางสังคม
คือ การเข้าร่วมงานบุญ งานประเพณีต่างๆ ในชุมชนของผู้สูงอายุ หรืออาจพาเข้ากลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีการรวมตัวกันตามความชอบ ศาสนา หรือสังคมของตนเอง นอกจากนี้ บุตรหลานยังควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยปะละเลย และหมั่นพูดคุยถามไถ่ถึงกิจกรรมนั้นๆ เสมอ
2. กิจกรรมการออกกำลังกาย
เพื่อป้องกันการเสื่อมของสภาพร่างกาย และช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก โดยแบ่งเป็น การทำกายบริหาร และการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่งเหยาะๆ จ๊อกกิ้ง เดินเร็ว เป็นต้น
3. การเล่นกีฬาหรือเกม
เช่นหมากรุก หมากฮอร์ส โยนห่วง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้สูงอายุสามารถเลือกเล่นได้ตามใจชอบ โดยไม่เป็นกีฬาที่หักโหม หรือการละเล่นที่ออกแรงมากจนเกินไป
4. กิจกรรมการท่องเที่ยว
ตามสถานที่สำคัญต่างๆ หรือการเดินทางไกล การท่องเที่ยวทำให้เปิดโลกกว้าง และสร้างความสุขสนุกสนานให้ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก บุตรหลานควรโทรถามไถ่ รวมถึงถามถึงการท่องเที่ยวนั้นๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้บอกเล่าความรู้สึก
5. กิจกรรมงานอดิเรก
เช่น งานฝีมือ ทำอาหาร ร้องรำทำเพลง หรือจัดสวน เป็นต้น การทำในสิ่งที่รัก ช่วยสร้างความผ่อนคลาย และฝึกความใจเย็นได้มากขึ้น โดยบุตรหลานควรพูดคุย สนับสนุน และให้ความสำคัญกับสิ่งของนั้นๆ ด้วย